วิทยากร

PEOPLE-CENTERED JUSTICE IN ACTION28 ตุลาคม 2022 ผ่านทาง Zoom Meeting

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์

ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปศาลและความยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนาน และได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในการปรับปรุงระบบศาลไทยจากการที่มีบทบาทอยู่ในองค์กรระดับชาติหลายองค์กร เป็นที่ทราบกันดีว่า ดร.กิตติพงษ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยมุ่งไปสู่วิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม และให้มีการริเริ่มนำเอาความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และโปรแกรมยุติธรรมชุมชนไปดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จ  ในด้านสันติภาพและการปรองดอง ดร. กิตติพงษ์ ทำงานอย่างมุ่งมั่นอยู่ในคณะกรรมการเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งมีจุดรวมความสนใจอยู่ที่เรื่องความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้ และในคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง หลังจากได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาเป็นเวลา 6 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ดร. กิตติพงษ์ได้มาเริ่มบทบาทใหม่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่มีจุดประสงค์ในการส่งเสริม การวิจัย และการทำกิจกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถตามมาตรฐานและบรรทัดฐานเกี่ยวกับความยุติธรรมของสหประชาชาติ ปัจจุบัน ดร. กิตติพงษ์ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

ดร. กิตติพงษ์ได้รับปริญญาเอก (J.S.D.) จาก Stanford Law School ปริญญาโท (LL.M.) จาก Harvard Law School จบหลักสูตรเนติบัณฑิตไทยของเนติบัณฑิตยสภา ได้รับปริญญาโท (LL.M) จาก Cornell Law School และปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ดร. พิเศษ สอาดเย็น

ปัจจุบัน ดร.พิเศษ สอาดเย็น เป็นผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย โดยที่ก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กระทรวงยุติธรรม ประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างปี 2547-2551 ดร.พิเศษทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักกิจการต่างประเทศและประสานนโยบายของสถาบันเพื่อการยุติธรรมและมีบทบาทอย่างมากในการพยายามทำให้ TIJ ได้เป็นสถาบันเครือข่ายของโปรแกรมด้านอาชญากรรมของสหประชาชาติจนเป็นผลสำเร็จยิ่งไปกว่านั้นยังทำหน้าที่ในการนำคำสั่งด้านนโยบายที่สำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาใช้ในองค์กรและความมั่นคงไซเบอร์ไปปฏิบัติจนสำเร็จโดยทั่วถึงทั้งกระทรวงยุติธรรม ซึ่งรวมไปถึงโครงการที่สำคัญอย่างยิ่งของกระทรวงยุติธรรมเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) เพื่อนำมาใช้ในการคาดการณ์ว่าจะมีการกระทำผิดซ้ำ และการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด  ดร.พิเศษ มีความสนใจด้านการวิจัยในหลากหลายสาขา ซึ่งรวมทั้งเรื่องการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด การเข้าถึงความยุติธรรม การเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาที่ยั่งยืน และการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ดร. อณูวรรณ วงศ์พิเชษฐ์

ดร. อณูวรรณ วงศ์พิเชษฐ์ เป็นรองผู้อำนวยการและรักษาการผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ซึ่งเธอเป็นผู้กำหนดกรอบแนวคิดและบริหารจัดการโครงการริเริ่มต่างๆ ในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม (justice sector) เธอได้พัฒนาหลักสูตรหลักนิติธรรมและการพัฒนา (Rule of Law and Development – RoLD) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือกับ Institute for Global Law and Policy แห่ง Harvard Law School ซึ่งภายใต้โครงการนี้ TIJ ได้จัดทำเวิร์คชอปต่างๆ สำหรับผู้นำด้านนโยบายจากทวีปเอเชีย นอกจากนั้น ดร. อณูวรรณ ยังเป็นผู้บุกเบิกในการริเริ่มจัดทำแพลตฟอร์มสำหรับนวัตกรรมด้านการยุติธรรม (justice innovation platform) ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งเป็นที่บ่มเพาะและสังเคราะห์แนวทางในการแก้ปัญหาสำหรับภาคส่วนของหน่วยงานและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม โดยการใช้เครื่องมือแบบสหวิทยาการ เช่น กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (design-thinking) และกระบวนการคิดเชิงระบบ (systems-thinking)

ในฐานะคณะผู้บริหารของ TIJ ดร. อณูวรรณ ยังเป็นผู้จัดการงานที่เกี่ยวข้องกับภาคีภายนอกองค์กรด้วย ได้แก่ ธนาคารโลก, The Hague Institute for Innovation of Law, Harvard University และ Stanford University ก่อนหน้านั้นเธอได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และแผน สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย และยังเคยทำงานในสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์

ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและระดับปริญญาเอก Dottorato in Economia Politica จาก University of Bologna (ITALY)

ผศ.ดร.ธานี เป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม มีความสนใจในเศรษฐศาสตร์เชิงสถาบัน (Institutional Economics) และเศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง (Experimental Economics) โดยเฉพาะประเด็นทางด้านค่านิยมและวัฒนธรรม งานวิจัยของ ดร. ธานี เกี่ยวข้องกับเรื่องการออกแบบสถาบัน เศรษฐกิจนอกระบบ คนไร้บ้าน การค้าบริการทางเพศ การวัดบรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) ผลของสื่อกับการโกง “การแกล้งกันของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” และ ผู้ขับเคลื่อนการสร้าง online civic culture ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

สุนิตย์ เชรษฐา

นายสุนิตย์ เชรษฐา สำเร็จการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แอนนา เสืองามเอี่ยม

มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2565