วิทยากร

High Level Conference on Sustainable Development, Crime Prevention and Safe Societies in Southeast Asia05 มีนาคม 2018 UN Conference Centre Bangkok

ดร. แมตตี้ จุทเซ่น

ดร. แมตตี้ จุทเซ่น ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันยุโรปเพื่อการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม (European Institution for Crime Prevention and Control-HEUNI) ดร. จุทเซ่น ได้เป็นผู้แทนของประเทศฟินแลนด์ในทีประชุมสหประชาชาติ คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นหัวหน้าคณะเจรจาของฟินแลนด์ในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต  ดร. แมตตี้ จุทเซ่น มีผลงานวิชาการมากกว่าสองร้อยผลงานในด้าน การป้องกันอาชญากรรม ความยุติธรรมทางอาญา การเปรียบเทียบกฎหมายอาญาและความร่วมมือระหว่างประเทศ

นายนิโคลัส บูธ

ที่ปรึกษาด้านการป้องกันความขัดแย้ง การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ประจำสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

นายเจเรมี ดักลาส

นายเจเรมี ดักลาส มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรม แห่งสหประชาชาติ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมหลักนิติธรรม ภัยคุกคาม ความมั่นคงที่มิใช่ทางทหาร การบังคับใช้กฎหมาย ความยุติธรรมทางอาญา และความปลอดภัยจากยาเสพติด รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานใกล้ชิดกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ก่อนเข้ารับตำแหน่งในประเทศไทย นายเจเรมี ดักลาส เคยปฏิบัติงานเป็นผู้แทนสำนักงานป้องกันยาเสพติดและอาชญากรรมประจำประเทศปากีสถานและมีประสบการณ์การทำงานในประเทศแคนาดา และแคริบเบียน รวมทั้ง สำนักงานใหญ่ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเล็งเห็นถึงความสําคัญของบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ในการส่งเสริมหลักนิติธรรมและพัฒนากระบวนการยุติธรรม เพื่อสนับสนุนการดําเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ทรงมีส่วนสําคัญในการผลักดันในเวทีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวทีสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวม ซึ่งครอบคลุมมิติสําคัญในทุกๆ ด้านซึ่งรวมถึงหลักนิติธรรมและการเข้าถึงความยุติธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างที่ทรง ดํารงตําแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจําสาธารณรัฐออสเตรียและเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทย ประจําสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา ได้ทรงมีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในกรอบงานด้านความยุติธรรมทางอาญา ส่งผลให้มีการพัฒนาและรับรองมาตรฐานระหวางประเทศฉบับใหม่หลายฉบับ อีกทั้งยังทําให้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านนโยบายทางอาญามีความเชื่อมโยงกับวาระการพัฒนาของสหประชาชาติ ในภาพรวมอย่างแนบแน่นมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยความเชื่อมโยงกับหลักนิติธรรมเป็นแนวคิดพื้นฐานสําคัญ นอกจากนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 เป็นต้นมา ยังทรงดํารงตําแหน่งทูตสันถวไมตรีด้านการส่งเสริมหลักนิติธรรม และระบบงานยุติธรรมทางอาญาสําหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามคํากราบทูลเชิญของสํานักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drug and Crime – UNODC) โดยจะได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยมีสํานักงาน UNODC ประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกเป็นผู้ประสานงานหลัก และมีสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ทรงสนับสนุนบทบาทและภารกิจของ UNODC ในการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างหลักนิติธรรมและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในฐานะเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์

ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปศาลและความยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนาน และได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในการปรับปรุงระบบศาลไทยจากการที่มีบทบาทอยู่ในองค์กรระดับชาติหลายองค์กร เป็นที่ทราบกันดีว่า ดร.กิตติพงษ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยมุ่งไปสู่วิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม และให้มีการริเริ่มนำเอาความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และโปรแกรมยุติธรรมชุมชนไปดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จ  ในด้านสันติภาพและการปรองดอง ดร. กิตติพงษ์ ทำงานอย่างมุ่งมั่นอยู่ในคณะกรรมการเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งมีจุดรวมความสนใจอยู่ที่เรื่องความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้ และในคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง หลังจากได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาเป็นเวลา 6 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ดร. กิตติพงษ์ได้มาเริ่มบทบาทใหม่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่มีจุดประสงค์ในการส่งเสริม การวิจัย และการทำกิจกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถตามมาตรฐานและบรรทัดฐานเกี่ยวกับความยุติธรรมของสหประชาชาติ ปัจจุบัน ดร. กิตติพงษ์ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

ดร. กิตติพงษ์ได้รับปริญญาเอก (J.S.D.) จาก Stanford Law School ปริญญาโท (LL.M.) จาก Harvard Law School จบหลักสูตรเนติบัณฑิตไทยของเนติบัณฑิตยสภา ได้รับปริญญาโท (LL.M) จาก Cornell Law School และปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย