วิทยากร

Braving the Future: Defining Digital Injustice17 มิถุนายน 2022 Zoom Meeting

ดร. พิเศษ สอาดเย็น

ปัจจุบัน ดร.พิเศษ สอาดเย็น เป็นผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย โดยที่ก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กระทรวงยุติธรรม ประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างปี 2547-2551 ดร.พิเศษทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักกิจการต่างประเทศและประสานนโยบายของสถาบันเพื่อการยุติธรรมและมีบทบาทอย่างมากในการพยายามทำให้ TIJ ได้เป็นสถาบันเครือข่ายของโปรแกรมด้านอาชญากรรมของสหประชาชาติจนเป็นผลสำเร็จยิ่งไปกว่านั้นยังทำหน้าที่ในการนำคำสั่งด้านนโยบายที่สำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาใช้ในองค์กรและความมั่นคงไซเบอร์ไปปฏิบัติจนสำเร็จโดยทั่วถึงทั้งกระทรวงยุติธรรม ซึ่งรวมไปถึงโครงการที่สำคัญอย่างยิ่งของกระทรวงยุติธรรมเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) เพื่อนำมาใช้ในการคาดการณ์ว่าจะมีการกระทำผิดซ้ำ และการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด  ดร.พิเศษ มีความสนใจด้านการวิจัยในหลากหลายสาขา ซึ่งรวมทั้งเรื่องการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด การเข้าถึงความยุติธรรม การเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาที่ยั่งยืน และการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ดร. อณูวรรณ วงศ์พิเชษฐ์

ดร. อณูวรรณ วงศ์พิเชษฐ์ เป็นรองผู้อำนวยการและรักษาการผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ซึ่งเธอเป็นผู้กำหนดกรอบแนวคิดและบริหารจัดการโครงการริเริ่มต่างๆ ในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม (justice sector) เธอได้พัฒนาหลักสูตรหลักนิติธรรมและการพัฒนา (Rule of Law and Development – RoLD) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือกับ Institute for Global Law and Policy แห่ง Harvard Law School ซึ่งภายใต้โครงการนี้ TIJ ได้จัดทำเวิร์คชอปต่างๆ สำหรับผู้นำด้านนโยบายจากทวีปเอเชีย นอกจากนั้น ดร. อณูวรรณ ยังเป็นผู้บุกเบิกในการริเริ่มจัดทำแพลตฟอร์มสำหรับนวัตกรรมด้านการยุติธรรม (justice innovation platform) ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งเป็นที่บ่มเพาะและสังเคราะห์แนวทางในการแก้ปัญหาสำหรับภาคส่วนของหน่วยงานและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม โดยการใช้เครื่องมือแบบสหวิทยาการ เช่น กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (design-thinking) และกระบวนการคิดเชิงระบบ (systems-thinking)

ในฐานะคณะผู้บริหารของ TIJ ดร. อณูวรรณ ยังเป็นผู้จัดการงานที่เกี่ยวข้องกับภาคีภายนอกองค์กรด้วย ได้แก่ ธนาคารโลก, The Hague Institute for Innovation of Law, Harvard University และ Stanford University ก่อนหน้านั้นเธอได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และแผน สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย และยังเคยทำงานในสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

ปฐมา จันทรักษ์

ปริชา ดวงทวีทรัพย์

ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)

อาร์ม ตั้งนิรันดร

อาร์ม ตั้งนิรันดร เป็น Residential Fellow ที่ IGLP ระหว่างปี 2556-2561 และเพิ่งได้รับปริญญาเอก (Ph.D) จาก Stanford Law School เมื่อเร็วๆ นี้ ปัจจุบันเป็นรองคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ดร. อาร์ม ได้ใช้ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงสหวิทยาการในการศึกษาประเด็นต่างๆของวัฒนธรรมต่างๆของกฎหมายเปรียบเทียบ วิธีปฏิบัติด้านกฎหมายธุรกิจ ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและการพัฒนาเศรษฐกิจ ดร. อาร์ม ได้รับปริญญาตรีด้านกฎหมาย (LL.B) จาก Peking University กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ปริญญาโท (LL.M.) ด้านกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศจาก Harvard Law School และปริญญาโท (J.S.M.) ในสาขากฎหมายและสังคมจาก Stanford Law School ดร. อาร์ม สามารถใช้ภาษาได้อย่างแคล่วคล่องถึงสามภาษา และชอบวิธีการคิดแบบข้ามพรมแดนประเทศ นิติประเพณี (legal traditions) และวิทยาการสาขาต่างๆ

งานวิจัยของ ดร. อาร์ม เป็นการทำงานภาคสนามและการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของนักกฎหมายบรรษัทข้ามชาติ (transnational corporate lawyers)ในเชิงวิพากษ์ และการปฏิบัติงานของนักกฎหมายเหล่านั้นในเมียนมา โดยที่ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงมุมมองเชิงเปรียบเทียบจากองค์ความรู้ในอดีตเรื่องโลกาภิวัตน์ของกฎหมายและพัฒนาการของภาคส่วนกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (corporate legal sector)ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่นๆ เช่น ประเทศจีนและอินเดีย

สฤณี อาชวานันทกุล

ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ป่าสาละ จำกัด

ชนกานต์ เมืองมั่งคั่ง

Chanakarn Muangmangkhang (Net) is an Investment Manager in Venture Capital team at SCB 10X, a corporate venture capital arm of the Siam Commercial Bank. Net has an experience in investment, portfolio management and business development. Prior to joining SCB 10X, Net was an M&A Manager at EY and Indorama Ventures. Net holds an MBA from The Fuqua School of Business, Duke University and a BBA in Accounting from Thammasat University.

กันต์รวี กิตยารักษ์

ผู้จัดการโครงการ สำนักงานนวัตกรรมด้านความยุติธรรม สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)

ศาสตราจารย์โจธี่ ราจาห์

Jothie Rajah is a full-time appointee to faculty of the ABF. She holds a Ph.D. from the University of Melbourne, Australia. She was awarded the Law Faculty’s 2010 Harold Luntz Graduate Research Thesis Prize for her work, Legislating Illiberalism: Law, Discourse & Legitimacy in Singapore, which also won the University of Melbourne’s Chancellor’s Prize for Excellence in the PhD Thesis and an Honorable Mention in the Law and Society Association Dissertation Prize competition.

She is a graduate of the Faculty of Law, National University of Singapore, where she also graduated with Honours in English. Jothie has taught with the Legal Writing and Research Skills Programme of the Faculty of Law of the National University of Singapore, where she has also lectured on Hindu Legal Traditions. She has also taught with the English departments of the National University of Singapore, the Institute of Education and Open University, Singapore. Jothie has been a member of the consultancy team working on the official translations of Lao laws, a United Nations Development Project. In Melbourne, Jothie has guest lectured in undergraduate and postgraduate programmes at the Melbourne Law School. She is a co-ordinator of the Law and Society Association Collaborative Research Network on British Colonial Legalities.

Research focus

The intersections of law, language, and power in the following areas: law, legitimacy and authoritarianism; international organizations and the global public sphere in constructions of norms for the rule of law; and the relationship between law, religion and national identity.