วิทยากร

เวทีสาธารณะว่าด้วยหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 1002 ธันวาคม 2021 การประชุมเวทีสาธารณะแบบ Hybrid ณ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย และผ่าน Zoom Application

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์

ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปศาลและความยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนาน และได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในการปรับปรุงระบบศาลไทยจากการที่มีบทบาทอยู่ในองค์กรระดับชาติหลายองค์กร เป็นที่ทราบกันดีว่า ดร.กิตติพงษ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยมุ่งไปสู่วิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม และให้มีการริเริ่มนำเอาความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และโปรแกรมยุติธรรมชุมชนไปดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จ  ในด้านสันติภาพและการปรองดอง ดร. กิตติพงษ์ ทำงานอย่างมุ่งมั่นอยู่ในคณะกรรมการเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งมีจุดรวมความสนใจอยู่ที่เรื่องความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้ และในคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง หลังจากได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาเป็นเวลา 6 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ดร. กิตติพงษ์ได้มาเริ่มบทบาทใหม่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่มีจุดประสงค์ในการส่งเสริม การวิจัย และการทำกิจกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถตามมาตรฐานและบรรทัดฐานเกี่ยวกับความยุติธรรมของสหประชาชาติ ปัจจุบัน ดร. กิตติพงษ์ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

ดร. กิตติพงษ์ได้รับปริญญาเอก (J.S.D.) จาก Stanford Law School ปริญญาโท (LL.M.) จาก Harvard Law School จบหลักสูตรเนติบัณฑิตไทยของเนติบัณฑิตยสภา ได้รับปริญญาโท (LL.M) จาก Cornell Law School และปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ดร. พิเศษ สอาดเย็น

ปัจจุบัน ดร.พิเศษ สอาดเย็น เป็นผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย โดยที่ก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กระทรวงยุติธรรม ประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างปี 2547-2551 ดร.พิเศษทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักกิจการต่างประเทศและประสานนโยบายของสถาบันเพื่อการยุติธรรมและมีบทบาทอย่างมากในการพยายามทำให้ TIJ ได้เป็นสถาบันเครือข่ายของโปรแกรมด้านอาชญากรรมของสหประชาชาติจนเป็นผลสำเร็จยิ่งไปกว่านั้นยังทำหน้าที่ในการนำคำสั่งด้านนโยบายที่สำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาใช้ในองค์กรและความมั่นคงไซเบอร์ไปปฏิบัติจนสำเร็จโดยทั่วถึงทั้งกระทรวงยุติธรรม ซึ่งรวมไปถึงโครงการที่สำคัญอย่างยิ่งของกระทรวงยุติธรรมเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) เพื่อนำมาใช้ในการคาดการณ์ว่าจะมีการกระทำผิดซ้ำ และการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด  ดร.พิเศษ มีความสนใจด้านการวิจัยในหลากหลายสาขา ซึ่งรวมทั้งเรื่องการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด การเข้าถึงความยุติธรรม การเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาที่ยั่งยืน และการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ผยง ศรีวณิช

ผยง ศรีวณิช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ที่ University of Arizona, Tucson, Arizona ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจที่ University of Pittsburgh, Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา  ผยงมีประสบการณ์ในด้านธุรกิจการเงินการธนาคารมากว่า 20 ปี โดยระหว่างปี 2551-2557 เคยดำรงตำแหน่ง Managing Director, Head of Global Markets & Country Treasurer, Citibank N.A., Thailand และในปี 2558 ได้เริ่มทำงานกับธนาคารกรุงไทยในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

ดร.พัชชา เจิงกลิ่นจันทร์

ดร.พัชชา เจิงกลิ่นจันทร์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโทจากสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และระดับปริญญาเอก สาขานโยบายสังคมจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษาและการเรียนรู้ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2551 – 2560 เคยดำรงตำแหน่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ณ สหทัยมูลนิธิ

ดร.พัชชามีผลงานวิจัยและผลงานวิชาการมากมาย อาทิเช่น

  • งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดสวัสดิการแม่วัยรุ่นในสังคมไทย” โครงการรวบรวมข้อมูลชุดสวัสดิการแม่วัยรุ่น ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.)
  • บทความเรื่อง “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถี : นวัตกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเชิงวิพากษ์” Designing learning activities for sexuality education: Innovation in adolescent pregnancy prevention by critical thinking. นำเสนอในงานสัมมนาวิชาการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ปีที่ 64
  • บทความเรื่อง “การค้นหาแนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับแม่วัยรุ่นในสังคมสมัยใหม่” Searching for Welfare Provision Guideline of Teenage Mothers in Modern Society นำเสนอในงานสัมมนาวิชาการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ปีที่ 63

ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์

ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและระดับปริญญาเอก Dottorato in Economia Politica จาก University of Bologna (ITALY)

ผศ.ดร.ธานี เป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม มีความสนใจในเศรษฐศาสตร์เชิงสถาบัน (Institutional Economics) และเศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง (Experimental Economics) โดยเฉพาะประเด็นทางด้านค่านิยมและวัฒนธรรม งานวิจัยของ ดร. ธานี เกี่ยวข้องกับเรื่องการออกแบบสถาบัน เศรษฐกิจนอกระบบ คนไร้บ้าน การค้าบริการทางเพศ การวัดบรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) ผลของสื่อกับการโกง “การแกล้งกันของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” และ ผู้ขับเคลื่อนการสร้าง online civic culture ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

การนำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมหลักสูตร RoLD Program กลุ่ม T

  1. รศ.ดร. สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น – อธิการบดี มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล
  2. พล.ต.ต. นิเวศน์ อาภาวศิน – ผู้บังคับการกองตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  3. ปฐมา จันทรักษ์ – รองประธานกลุ่มอินโดจีนและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
  4. ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ – ผู้ก่อตั้งและการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามเมทริกซ์ คอนซัลติ้ง จำกัด
  5. เลิศรัตน์ รตะนานุกูล – ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) [ผู้ดำเนินรายการ]

การนำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมหลักสูตร RoLD Program กลุ่ม I

  1. คณพร ฮัทชิสัน – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เกรย์เอ็นเจ ยูไนเต็ด จำกัด
  2. ณฤดี คริสธานินทร – ประธานเจ้าหน้าบริหาร บริษัท ยูเรก้า โกลบอล จำกัด
  3. สุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ – กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง บริษัท ทูลมอโร จำกัด
  4. ปิยพล วุฒิวร – ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการลงทุน บริษัท จีเอเบิล จำกัด

การนำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมหลักสูตร RoLD Program กลุ่ม J

  1. ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล – อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
  2. ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ – ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA)
  3. ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล – ผู้จัดการโครงการมูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ ประเทศไทย
  4. ดร.สันติธธาร เสถียรไทย – นักเศรษฐศาสตร์และผู้บริหาร บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก