ผสานมุมมองหลักนิติธรรมจากสากลสู่การพัฒนาในภูมิภาค12 มกราคม 2018 โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร
David Kennedy close
David Kennedy เป็น Manley O. Hudson Professor of Law และเป็นผู้อำนวยการ (Faculty Director) ของ Institute for Global Law and Policy ที่ Harvard Law School ซึ่ง Dr. Kennedy เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทฤษฎีด้านกฎหมาย กฎหมายและการพัฒนา และกฎหมายยุโรปมาตั้งแต่ปี 2524 Dr. Kennedy ได้รับปริญญาเอก (Ph.D.) จาก Fletcher School, Tuffs University และปริญญาทางกฎหมาย (J.D.) จาก Harvard
Dr. Kennedy ได้เขียนบทความไว้มากมายเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศและธรรมาภิบาลโลก นอกจากจะทำงานเป็นนักกฎหมายและที่ปรึกษาแล้ว Dr. Kennedy ยังทำงานซึ่งเป็นโครงการระหว่างประเทศมากมายทั้งในภาคการพาณิชย์และภาครัฐ ซึ่งรวมทั้งการทำงานกับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ
Dr. Kennedy เคยเป็นประธานและสมาชิกของสภาที่ปรึกษา Global Advisory Council on Global Governance ของ World Economic Forum และในปี 2554 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาชาวต่างประเทศของคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง ปัจจุบัน Dr. Kennedy เป็นสมาชิกของคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย
ดร. ลูอิส เอสลาวา
ดร. แมตตี้ จุทเซ่น close
ดร. จุทเซ่น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ ของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันยุโรปเพื่อการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม (European Institution for Crime Prevention and Control – HEUNI) ดร. จุทเซ่น ได้เป็นผู้แทนของประเทศฟินแลนด์ในที่ประชุมสหประชาชาติ คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นหัวหน้าคณะเจรจาของฟินแลนด์ในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ดร. จุทเซ่น มีผลงานวิชาการมากกว่าสองร้อยผลงานในด้านการป้องกันอาชญากรรม ความยุติธรรมทางอาญา กฎหมายอาญาเปรียบเทียบและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ดร. แวเลอรี่ ฮันส์ close
ดร. ฮันส์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยมสูงสุด) ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกด้านจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา ท่านทำงานวิจัยเชิงประจักษ์เกี่ยวกับกฎหมายและศาล และเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องระบบศาล นอกจากนี้ ยังได้เขียนหนังสือ ทำงานวิจัยและได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อให้การบรรยายในหัวข้อเกี่ยวกับลูกขุนศาลและการปฏิรูประบบลูกขุนรวมถึงการใช้ประโยชน์จากวิชาสังคมศาสตร์ในระบบกฎหมาย โดยงานวิจัยในปัจจุบันซึ่งเกี่ยวกับระบบลูกขุนของประเทศสหรัฐอเมริกาจะรวมถึงการศึกษาการพัฒนาทฤษฎีใหม่สำหรับการพิจารณาชดใช้ค่าเสียหาย การวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ระบบลูกขุนช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การตรวจสอบผลกระทบของชาติพันธุ์ต่อคำพิพากษาของศาลในคดีละเมิด และการวิจัยถึงบทบาทลูกขุนในคดีที่มีโทษประหารชีวิต โดยในปัจจุบัน ดร. ฮันส์ กำลังศึกษาการริเริ่มการใช้ระบบลูกขุนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบอื่นๆ ในต่างประเทศ อาทิ ประเทศอาร์เจนตินา ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย สเปน และไต้หวัน และยังเป็นประธานร่วมของ The Society for Empirical Legal Studies แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์แนลอีกด้วย
ดร. โจธี ราชา
มูลนิธิอเมริกันบาร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาสุคี เนเซียฮ์
มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค
ศาสตราจารย์ กุนเธอร์ แฟรงเกนเบิร์ค
เกอเธ่ มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟิร์ต เมน
ศาสตราจารย์ จอห์น โอเนซอร์จ
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
ศาสตราจารย์ ซันเดีย พหุจา
ศาสตราจารย์ ฌอร์จ เอสเคอโรล
มหาวิทยาลัยนานาชาติฟลอริดา
ศาสตราจารย์ อัลวาโร ซานโตส
จอร์จทาวน์ ลอว์
ศาสตราจารย์ โอซามา ซิดดิค close
Dr. Osama Siddique is a legal scholar, policy reform advisor and author. He is an Associate Fellow at the Institute of Development and Economic Alternatives (IDEAS), Lahore, Pakistan. He has also worked as an Associate Professor of Law & Policy and was the founding head of department (2005-2007) at Lahore University of Management Sciences (LUMS), Lahore, Pakistan. Dr. Siddique has extensive experience in research and policy work in the fields of law and public policy. He has several scholarly publications in international academic journals in the areas of comparative constitutional law, law and development, legal history, human rights, legal education, and justice sector reform. He has also worked extensively as a justice sector reform adviser to Pakistani courts, federal and provincial government departments, the United Nations and various international bilateral and multilateral financial institutions, including the ADB, USAID, DFID, EU, GIZ and World Bank. He is a regular participant in local and international academic conferences and policy dialogues. He has also practiced as a transactional lawyer in New York and as an advocate of the appellate courts in Pakistan. His most recent book publication is ‘Pakistan’s Experience with Formal Law: An Alien Justice’ (Cambridge: Cambridge University Press, 2013). Dr. Siddique is also currently a member of the Senior Faculty of the Institute for Global Law & Policy (IGLP) at Harvard Law School for the 2015 IGLP Workshop.
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ close
ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปศาลและความยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนาน และได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในการปรับปรุงระบบศาลไทยจากการที่มีบทบาทอยู่ในองค์กรระดับชาติหลายองค์กร เป็นที่ทราบกันดีว่า ดร.กิตติพงษ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยมุ่งไปสู่วิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม และให้มีการริเริ่มนำเอาความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และโปรแกรมยุติธรรมชุมชนไปดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จ ในด้านสันติภาพและการปรองดอง ดร. กิตติพงษ์ ทำงานอย่างมุ่งมั่นอยู่ในคณะกรรมการเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งมีจุดรวมความสนใจอยู่ที่เรื่องความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้ และในคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง หลังจากได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาเป็นเวลา 6 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ดร. กิตติพงษ์ได้มาเริ่มบทบาทใหม่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่มีจุดประสงค์ในการส่งเสริม การวิจัย และการทำกิจกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถตามมาตรฐานและบรรทัดฐานเกี่ยวกับความยุติธรรมของสหประชาชาติ ปัจจุบัน ดร. กิตติพงษ์ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย
ดร. กิตติพงษ์ได้รับปริญญาเอก (J.S.D.) จาก Stanford Law School ปริญญาโท (LL.M.) จาก Harvard Law School จบหลักสูตรเนติบัณฑิตไทยของเนติบัณฑิตยสภา ได้รับปริญญาโท (LL.M) จาก Cornell Law School และปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย