วิทยากร

หลักนิติธรรมกับการพัฒนาระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาชุมชน22 กุมภาพันธ์ 2017 UN Conference Centre Bangkok.

ดร. รอยล จิตรดอน

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทด้านคณิตศาสตร์และปริญญาเอกด้านวิทยาการสารสนเทศจาก ประเทศออสเตรีย เป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานในด้านการบริหารจัดการน้ำและการจัดการข้อมูลสารสนเทศ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในด้านการจัดการน้ำหลายแห่ง ได้แก่ กรรมการบริหาร จัดการน้ำและอุทกภัย กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นปรึกษา ให้กับหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์ข้อมูลทรัพยากรน้ำ แบบบูรณาการ จังหวัดระยอง เป็นต้น

ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์และการพัฒนาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มต้นการทำงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2517 โดยตำแหน่งสุดท้ายที่ได้รับคือ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน จากนั้นได้เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จนในที่สุด ได้ก้าวสู่การรับตำแหน่งสำคัญในองค์การระหว่างประเทศในตำแหน่งผู้อำนวยการการค้าโลก ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2548 และเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เป็นระยะเวลา 2 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2556 นอกจากนี้ยังมีผลงานทางวิชาการ ได้แก่ Globalization and Trade in the New Millennium (2001) และ China and WTO: Changing China Changing world trade (2002)

นายลุค สตีเฟน

นายลุค สตีเฟน เป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานในด้านการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการพัฒนา ระหว่างประเทศมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มต้นทำงานให้แก่องค์การสหประชาชาติเป็นครั้งแรกในประเทศซูดาน และต่อมาได้ประจำอยู่ในประเทศอิหร่าน ประเทศแทนซาเนีย รวมทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ ณ กรุงเจนีวา ในหลายตำแหน่ง ก่อนหน้าการเข้ารับตำแหน่งในประเทศไทย นายลุค สตีเฟน ได้ประจำอยู่ที่ประเทศจอร์แดน ในตำแหน่งผู้จัดการ และผู้แทนศูนย์สนับสนุนของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติในแอฟริกาตะวันตก

นายเจเรมี ดักลาส

นายเจเรมี ดักลาส มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรม แห่งสหประชาชาติ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมหลักนิติธรรม ภัยคุกคาม ความมั่นคงที่มิใช่ทางทหาร การบังคับใช้กฎหมาย ความยุติธรรมทางอาญา และความปลอดภัยจากยาเสพติด รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานใกล้ชิดกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ก่อนเข้ารับตำแหน่งในประเทศไทย นายเจเรมี ดักลาส เคยปฏิบัติงานเป็นผู้แทนสำนักงานป้องกันยาเสพติดและอาชญากรรมประจำประเทศปากีสถานและมีประสบการณ์การทำงานในประเทศแคนาดา และแคริบเบียน รวมทั้ง สำนักงานใหญ่ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเล็งเห็นถึงความสําคัญของบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ในการส่งเสริมหลักนิติธรรมและพัฒนากระบวนการยุติธรรม เพื่อสนับสนุนการดําเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ทรงมีส่วนสําคัญในการผลักดันในเวทีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวทีสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวม ซึ่งครอบคลุมมิติสําคัญในทุกๆ ด้านซึ่งรวมถึงหลักนิติธรรมและการเข้าถึงความยุติธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างที่ทรง ดํารงตําแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจําสาธารณรัฐออสเตรียและเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทย ประจําสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา ได้ทรงมีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในกรอบงานด้านความยุติธรรมทางอาญา ส่งผลให้มีการพัฒนาและรับรองมาตรฐานระหวางประเทศฉบับใหม่หลายฉบับ อีกทั้งยังทําให้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านนโยบายทางอาญามีความเชื่อมโยงกับวาระการพัฒนาของสหประชาชาติ ในภาพรวมอย่างแนบแน่นมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยความเชื่อมโยงกับหลักนิติธรรมเป็นแนวคิดพื้นฐานสําคัญ นอกจากนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 เป็นต้นมา ยังทรงดํารงตําแหน่งทูตสันถวไมตรีด้านการส่งเสริมหลักนิติธรรม และระบบงานยุติธรรมทางอาญาสําหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามคํากราบทูลเชิญของสํานักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drug and Crime – UNODC) โดยจะได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยมีสํานักงาน UNODC ประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกเป็นผู้ประสานงานหลัก และมีสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ทรงสนับสนุนบทบาทและภารกิจของ UNODC ในการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างหลักนิติธรรมและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในฐานะเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศและสิทธิมนุษยชน โดยปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตฯ ได้เคยทำงานให้กับองค์การสหประชาชาติในตำแหน่งที่สำคัญหลายตำแหน่ง โดยได้เคยร่วมเป็นกรรมการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศซีเรียและโกดดิวัวร์ ผู้รายงานพิเศษในด้านสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ และผู้รายงานพิเศษด้านการค้าเด็ก ค้าประเวณีและสื่อลามกเด็ก เป็นต้น ปัจจุบัน ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตฯ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระสอบสวนการละเมิดต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ แห่งองค์การ สหประชาชาติ (UN Independent Expert on Protection against Violence and Discrimination Based on Sexual Orientation and Gender Identity)

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์

ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปศาลและความยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนาน และได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในการปรับปรุงระบบศาลไทยจากการที่มีบทบาทอยู่ในองค์กรระดับชาติหลายองค์กร เป็นที่ทราบกันดีว่า ดร.กิตติพงษ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยมุ่งไปสู่วิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม และให้มีการริเริ่มนำเอาความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และโปรแกรมยุติธรรมชุมชนไปดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จ  ในด้านสันติภาพและการปรองดอง ดร. กิตติพงษ์ ทำงานอย่างมุ่งมั่นอยู่ในคณะกรรมการเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งมีจุดรวมความสนใจอยู่ที่เรื่องความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้ และในคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง หลังจากได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาเป็นเวลา 6 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ดร. กิตติพงษ์ได้มาเริ่มบทบาทใหม่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่มีจุดประสงค์ในการส่งเสริม การวิจัย และการทำกิจกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถตามมาตรฐานและบรรทัดฐานเกี่ยวกับความยุติธรรมของสหประชาชาติ ปัจจุบัน ดร. กิตติพงษ์ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

ดร. กิตติพงษ์ได้รับปริญญาเอก (J.S.D.) จาก Stanford Law School ปริญญาโท (LL.M.) จาก Harvard Law School จบหลักสูตรเนติบัณฑิตไทยของเนติบัณฑิตยสภา ได้รับปริญญาโท (LL.M) จาก Cornell Law School และปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย