วิทยากร

แนวทางการส่งเสริมหลักนิติธรรมอย่างบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 203011 มกราคม 2017 โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร

David Kennedy

David Kennedy เป็น Manley O. Hudson Professor of Law และเป็นผู้อำนวยการ (Faculty Director) ของ Institute for Global Law and Policy ที่ Harvard Law School ซึ่ง Dr. Kennedy เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทฤษฎีด้านกฎหมาย กฎหมายและการพัฒนา และกฎหมายยุโรปมาตั้งแต่ปี 2524 Dr. Kennedy ได้รับปริญญาเอก (Ph.D.) จาก Fletcher School, Tuffs University และปริญญาทางกฎหมาย (J.D.) จาก Harvard

Dr. Kennedy ได้เขียนบทความไว้มากมายเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศและธรรมาภิบาลโลก นอกจากจะทำงานเป็นนักกฎหมายและที่ปรึกษาแล้ว Dr. Kennedy ยังทำงานซึ่งเป็นโครงการระหว่างประเทศมากมายทั้งในภาคการพาณิชย์และภาครัฐ ซึ่งรวมทั้งการทำงานกับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ

Dr. Kennedy เคยเป็นประธานและสมาชิกของสภาที่ปรึกษา Global Advisory Council on Global Governance ของ World Economic Forum และในปี 2554 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาชาวต่างประเทศของคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง ปัจจุบัน Dr. Kennedy เป็นสมาชิกของคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย

ดร. พิเศษ สอาดเย็น

ปัจจุบัน ดร.พิเศษ สอาดเย็น เป็นผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย โดยที่ก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กระทรวงยุติธรรม ประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างปี 2547-2551 ดร.พิเศษทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักกิจการต่างประเทศและประสานนโยบายของสถาบันเพื่อการยุติธรรมและมีบทบาทอย่างมากในการพยายามทำให้ TIJ ได้เป็นสถาบันเครือข่ายของโปรแกรมด้านอาชญากรรมของสหประชาชาติจนเป็นผลสำเร็จยิ่งไปกว่านั้นยังทำหน้าที่ในการนำคำสั่งด้านนโยบายที่สำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาใช้ในองค์กรและความมั่นคงไซเบอร์ไปปฏิบัติจนสำเร็จโดยทั่วถึงทั้งกระทรวงยุติธรรม ซึ่งรวมไปถึงโครงการที่สำคัญอย่างยิ่งของกระทรวงยุติธรรมเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) เพื่อนำมาใช้ในการคาดการณ์ว่าจะมีการกระทำผิดซ้ำ และการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด  ดร.พิเศษ มีความสนใจด้านการวิจัยในหลากหลายสาขา ซึ่งรวมทั้งเรื่องการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด การเข้าถึงความยุติธรรม การเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาที่ยั่งยืน และการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสถาบันการวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย มีความเชี่ยวชาญและผลงานวิชาการในด้านนโยบายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การปฏิรูปการศึกษา นโยบายด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และนิติเศรษฐศาสตร์  ตลอดจนมีความสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองและการพัฒนา  ภายหลังจากเรียนจบปริญญาเอกด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น ดร. สมเกียรติ เคยได้ทำงานที่สถาบันวิจัยโนมูระประเทศญี่ปุ่นในตำแหน่งนักวิจัยอาวุโสด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดร. แมตตี้ จุทเซ่น

ดร. แมตตี้ จุทเซ่น ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันยุโรปเพื่อการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม (European Institution for Crime Prevention and Control-HEUNI) ดร. จุทเซ่น ได้เป็นผู้แทนของประเทศฟินแลนด์ในทีประชุมสหประชาชาติ คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นหัวหน้าคณะเจรจาของฟินแลนด์ในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต  ดร. แมตตี้ จุทเซ่น มีผลงานวิชาการมากกว่าสองร้อยผลงานในด้าน การป้องกันอาชญากรรม ความยุติธรรมทางอาญา การเปรียบเทียบกฎหมายอาญาและความร่วมมือระหว่างประเทศ

นายนิโคลัส บูธ

ที่ปรึกษาด้านการป้องกันความขัดแย้ง การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ประจำสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

นายรพี สุจริตกุล

นายรพี สุจริตกุล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมายจาก University of Essex และปริญญาโทด้านกฎหมาย จาก University of Bristol สหราชอาณาจักร เริ่มการทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนจะมาร่วมงาน กับ ... ในช่วงปี ๒๕๓๕๒๕๔๗ 

นายรพี เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในตลาดทุนที่ยาวนาน เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในภาคเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนหลายแห่ง เช่น กรรมการตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กรรมการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บล. กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริหาร บลจ. กสิกรไทย จำกัด ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการสมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย กรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กรรมการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เป็นต้น ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งสำคัญในภาครัฐคือ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ นายรพี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการ ของสำนักงานคณะกรรมการ ...  เมือวันที่ พฤษภาคม ๒๕๕๘

ศาสตราจารย์ สิตาล คาลานทรี

ศาสตราจารย์ สิตาล คาลานทรี เป็นผู้ก่อตั้ง คลินิกวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (International Human Rights Clinic) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ศูนย์เอวอนโลกด้านผู้หญิงและความยุติธรรม (Avon Global Center for Women and Justice)
แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล ศาสตราจารย์สิตาล คาลานทรี มีผลงานวิชาการสำคัญในเรื่องการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการศึกษาและส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ  นอกจากนี้ ยังมีประสบการณ์อย่างกว้างขวางในประเด็นที่เกี่ยวกับเครือข่ายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมถึงสิทธิของสตรีในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยได้ปฏิบัติงานมาแล้วในหลากหลายประเทศ เช่น อินเดีย โคลอมเบีย และอาร์เจนตินา

ศาสตราจารย์ เอดัวรโด เอ็ม. เปญาลเวร์

ศาสตร์จารย์ เอดัวรโด เอ็ม. เปญาลเบร์ เข้าดำรงตำเเหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ โดยสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล และสำเร็จการศึกษาในสาขานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล และเคยร่วมงานกับผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ผลงานวิชาการหลายเรื่องของศาสตราจารย์ เอดัวรโด เอ็ม. เปญาลเบร์ ให้ความสำคัญกับกระบวนการยุติธรรม การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินและที่ดิน และผลกระทบต่อประโยชน์ของปัจเจกชนและชุมชน

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์

ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปศาลและความยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนาน และได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในการปรับปรุงระบบศาลไทยจากการที่มีบทบาทอยู่ในองค์กรระดับชาติหลายองค์กร เป็นที่ทราบกันดีว่า ดร.กิตติพงษ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยมุ่งไปสู่วิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม และให้มีการริเริ่มนำเอาความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และโปรแกรมยุติธรรมชุมชนไปดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จ  ในด้านสันติภาพและการปรองดอง ดร. กิตติพงษ์ ทำงานอย่างมุ่งมั่นอยู่ในคณะกรรมการเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งมีจุดรวมความสนใจอยู่ที่เรื่องความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้ และในคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง หลังจากได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาเป็นเวลา 6 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ดร. กิตติพงษ์ได้มาเริ่มบทบาทใหม่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่มีจุดประสงค์ในการส่งเสริม การวิจัย และการทำกิจกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถตามมาตรฐานและบรรทัดฐานเกี่ยวกับความยุติธรรมของสหประชาชาติ ปัจจุบัน ดร. กิตติพงษ์ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

ดร. กิตติพงษ์ได้รับปริญญาเอก (J.S.D.) จาก Stanford Law School ปริญญาโท (LL.M.) จาก Harvard Law School จบหลักสูตรเนติบัณฑิตไทยของเนติบัณฑิตยสภา ได้รับปริญญาโท (LL.M) จาก Cornell Law School และปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย